หน่วยที่ 4

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย

ลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่าย

            ลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่ายในที่นี้หมายถึง การสร้างเส้นทางหรือลิ้งค์ (Link) เพื่อเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ให้สามารถสื่อสารกันได้ ซึ่งมีอยู่ ลักษณะด้วยกัน คือ

การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบจุดต่อจุด (Point to Point)

             เป็นการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมโยงถึงกันเท่านั้น โดยช่องทางการสื่อสารจะถูกจับจองสำหรับอุปกรณ์ อุปกรณ์เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม หากโหนดคู่ใดที่ไม่มีสายส่งถึงกันก็สามารถสื่อสารผ่านโหนดที่อยู่ติดกันเพื่อส่งทอดต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงโหนดปลายทางที่ต้องการ เช่น จากรูป โหนด ต้องการสื่อสารกับโหนดปลายทาง คือ โหนด ซึ่งมีลิ้งค์ระหว่าง A กับ ดังนั้น โหนด จึงต้องพึ่งพาลิ้งค์ เพื่อส่งทอดข้อมูลไปยังโหนด เป็นต้น

                                            รูปที่ 4.1 การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบจุดต่อจุด

ข้อดี

       -  สามารถใช้ความเร็วในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น จึงเหมาะสมกับการส่งข้อมูลได้คราวละมาก ๆ แบบต่อเนื่องกันไป

       -  เนื่องจากมีการติดต่อสื่อสารกันเพียง โหนด ดังนั้น จึงมีความปลอดภัยในข้อมูล

ข้อเสีย

       -  หากเครือข่ายมีจำนวนโหนดมากขึ้น ก็จะต้องใช้สายสื่อสารมากขึ้นตามลำดับ

       -  ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่

 การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบหลายจุด (Multi Point) เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้เส้นทางหรือลิ้งค์เพื่อการสื่อสารร่วมกัน กล่าวคือ อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ด้วยการใช้ลิ้งค์หรือสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว ดังนั้น วิธีการเชื่อมโยงชนิดนี้ทำให้ประหยัดสายส่งข้อมูลกว่าแบบแรกมาก โดยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่แล้วจะใช้วิธีการเชื่อมโยงแบบหลายจุด

รูปที่ 4.2 การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบหลายจุด


ข้อดี

       - ประหยัดสายส่งข้อมูล

       - การเพิ่มเติมโหนดสามารถเพิ่มได้ง่ายด้วยการเชื่อมต่อเข้ากับสายส่งที่ใช้งานร่วมกันได้ทันที

ข้อเสีย

       - หากสายส่งข้อมูลขาดจะส่งผลกระทบต่อระบบเครือข่าย

       - เนื่องจากใช้สายส่งข้อมูลร่วมกัน ดังนั้น ต้องมีกลไกเพื่อควบคุมการส่งข้อมูล

       - ไม่เหมาะกับการส่งข้อมูลแบบต่อเนื่องที่มีข้อมูลคราวละมาก ๆ

 

 รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่าย (Topologies)

            ลักษณะการเชื่อมต่อทางกายภาพระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ซึ่งแบ่งออกตามหลักวิชาการตั้งแต่สมัยก่อนนั้น แบ่งได้เป็น แบบ คือ

       ·  โครงสร้างแบบบัส (Bus Topology)

       ·  โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Topology)

       ·  โครงสร้างแบบวงแหวน (Ring Topology)

       ·  โครงสร้างแบบผสม (Hybrid Topology)

 

และในปัจจุบันมีโครงสร้างแบบไร้สาย (Wireless Topology) เพิ่มขึ้น

1.            โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Topology)

ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์นี้ดูไปแล้วจะคล้าย ๆ ดาวกระจาย คือ จะมีอุปกรณ์ เช่น ฮับ หรือสวิตซ์ เป็นศูนย์กลาง ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้มีประโยชน์คือ ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบ นอกจากนี้ถ้าหากเราเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปอีก ในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันที การต่อแบบนี้เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้เป็นศูนย์กลางคือ ฮับ/สวิตซ์

ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาเชื่อมต่อในลักษณะแบบดาว คือ มีคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางจะทำหน้าที่ในการควบคุมการสื่อสาร ทั้งการกำหนดเส้นทางการสื่อสาร หรือการดูแลอุปกรณ์ที่จะใช้งานร่วมกัน กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ตัวใดจะติดต่อสื่อสารกันจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ตัวกลางนี้ตลอด หรือคอมพิวเตอร์ตัวใดต้องการพิมพ์งานก็จะต้องติดต่อกับเครื่องพิมพ์ผ่านคอมพิวเตอร์กลางก่อน ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเกิดความเสียหายจะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ แสดงดังรูปที่ 4.3

รูปที่ 4.3 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว

ข้อดีของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network)

-    เครือข่ายแบบสตาร์จะมีโฮสคอมพิวเตอร์อยู่ที่จุดเดียว ทำให้ง่ายในการติดตั้งหรือจัดการกับระบบ

-    จุดใช้งาน จุด ต่อสายส่งข้อมูล เส้น เมื่อเกิดการเสียหายของจุดใช้งานใด ๆ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของจุดอื่น ๆ

ข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network)

-    เนื่องจากแต่ละจุดจะต่อโดยตรงกับโฮสคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมาก ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการติดตั้งและบำรุงรักษา

-    การเพิ่มจุดใหม่เข้าในระบบจะต้องเดินสายจากโฮสคอมพิวเตอร์ออกมาทำให้การขยายระบบทำได้ยาก

-    การทำงานขึ้นอยู่กับโฮสคอมพิวเตอร์ ถ้าโฮสคอมพิวเตอร์เกิดเสียหายขึ้นก็จะไม่สามารถใช้งานเครือข่ายได้

1.            โครงสร้างแบบบัส (Bus Topology)

เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทั้งหมดบนสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว เช่น สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล หรือสายใยแก้วนำแสง โดยสัญญาณที่ถูกส่งออกมาจากอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ตัวใดก็ตามจะเป็นลักษณะการกระจายข่าว (Broadcast) คือ ส่งออกไปทั้ง ทิศทางไปยังทุกส่วนของระบบเครือข่ายนั้น โดยมีซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งกับอุปกรณ์แต่ละตัวเป็นตัวควบคุมการสื่อสาร ซึ่งเป็นการทำงานที่ไม่มีอุปกรณ์ตัวใดทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมระบบเลย ในกรณีนี้ถ้าอุปกรณ์ใดก็ตามหยุดการทำงานไปก็จะไม่มีผลกระทบต่ออุปกรณ์ที่ยังคงทำงานอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ณ ขณะเวลา ๆ หนึ่งระบบนี้จะมีอุปกรณ์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งสัญญาณออกมาได้ โดยอุปกรณ์ตัวอื่นที่ต้องการส่งสัญญาณจะต้องหยุดรอจนกว่าในระบบจะไม่มีผู้ใดส่งสัญญาณ จึงจะสามารถเริ่มส่งสัญญาณของตนเองออกมาได้ ถ้ามีอุปกรณ์ตั้งแต่ ตัวขึ้นไปส่งสัญญาณออกมาพร้อมกันก็จะเกิดปัญหาสัญญาณชนกัน (Collision) ซึ่งจะทำให้สัญญาณของทุกฝ่ายเสียหายไม่สามารถนำไปใช้งานได้ ระบบนี้จะมีประสิทธิภาพต่ำในกรณีที่มีอุปกรณ์เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก แสดงดังรูปที่ 4.4

รูปที่ 4.4 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส


ข้อดีของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)

-        การใช้สายส่งข้อมูลจะใช้สายส่งข้อมูลร่วมกัน ทำให้ใช้สายส่งข้อมูลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการบำรุง

-        เครือข่ายแบบบัสมีโครงสร้างที่ง่ายและมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว

-        การเพิ่มจุดใช้บริการใหม่เข้าไปในเครือข่ายสามารถทำได้ง่าย เนื่องจากจุดใหม่จะใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้

ข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)

-        การหาข้อผิดพลาดทำได้ยาก เนื่องจากในเครือข่ายจะไม่มีศูนย์กลางในการควบคุมอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง ดังนั้น การตรวจสอบข้อผิดพลาดจึงต้องทำจากหลาย ๆ จุดในเครือข่าย

-        ในกรณีที่เกิดการเสียหายในสายส่งข้อมูลจะทำให้ทั้งเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้

-        เมื่อมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอาจทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลเมื่อมีการรับ – ส่งข้อมูล

1.            โครงสร้างแบบริง (Ring Topology)

เป็นการเชื่อมต่อที่มีลักษณะเป็นวงแหวน การรับ – ส่งข้อมูลจะเป็นไปในทิศทางเดียวโดยใช้ Token ซึ่งเป็นตัวอนุญาตให้คอมพิวเตอร์ตัวใดมีสิทธิส่งข้อมูลเพื่อไม่ให้เกิดการชนกันของข้อมูล โดยถ้าคอมพิวเตอร์ตัวใดต้องการส่งข้อมูลก็จะไปจับ Token มา และใส่ข้อมูลไปกับ Token ซึ่งในขณะที่ Token ไม่ว่าง คอมพิวเตอร์ตัวอื่นก็ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ จึงจำเป็นต้องรอให้ Token ว่าง ซึ่ง Token จะว่างก็ต่อเมื่อส่งข้อมูลได้ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว แสดงดังรูปที่ 4.5

รูปที่ 4.5 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบริง


ข้อดีของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบริง (Ring Network)

-        ใช้สายส่งข้อมูลน้อย ความยาวของสายส่งข้อมูลจะใกล้เคียงกับแบบบัส แต่จะน้อยกว่าแบบสตาร์ ทำให้เพิ่มความน่าเชื่อถือของการส่งข้อมูลได้มากขึ้น

-        เหมาะสำหรับใช้กับเคเบิลเส้นใยแก้วนำแสง เนื่องจากจะช่วยให้ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง ข้อมูลในวงแหวนจะเดินทางเดียว ในการส่งแต่ละจุดจะเชื่อมกับจุดติดกันด้วยสายส่งข้อมูลทำให้สามารถเลือกได้ว่าจะใช้สายส่งข้อมูลแบบไหนในแต่ละส่วนของระบบ เช่น เลือกใช้เคเบิลใยแก้วนำแสงในส่วนที่ใช้ในโรงงานซึ่งมีปัญหาด้านสัญญาณไฟฟ้ารบกวนระบบมาก เป็นต้น

ข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบริง (Ring Network)

-        การส่งข้อมูลบนวงแหวนจะต้องผ่านทุก ๆ จุดที่อยู่ในวงแหวน ดังนั้นหากมีจุดใดจุดหนึ่งเสียหาย ทั้งเครือข่ายก็จะไม่สามารถติดต่อกันได้ จนกว่าจะนำจุดที่เสียหายออกไปหรือแก้ไขให้ใช้งานได้

-        ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดอาจต้องทดสอบระหว่างจุดกับจุดถัดไป เพื่อหาดูว่าจุดใดเสียหาย ซึ่งเป็นเรื่องยากและเสียเวลามาก

-        ยากต่อการเพิ่มจุดใช้งานใหม่

1.            โครงสร้างแบบผสม (Hybrid Topology)

คือ การนำเครือข่ายย่อย ๆ ที่มีโครงข่ายตามแบบที่กล่าวข้างต้นทั้ง แบบมารวมกัน หรือเชื่อมต่อกันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ลักษณะแบบนี้ยังมีชื่อเรียกเฉพาะอีกด้วย เช่น โครงสร้างแบบต้นไม้ (Tree หรือ Hierachical หรือ Mesh) คือ เครือข่ายผสมที่เกิดจากการนำเอาเครือข่ายที่มีโครงสร้างแบบบัสและแบบสตาร์มาผสมกัน หรือโครงสร้างแบบไร้รูปแบบ (Mesh) คือ โครงสร้างแบบสตาร์ผสมกับบัสที่เชื่อมต่อกันแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอน แสดงดังรูปที่ 4.6

รูปที่ 4.6 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบผสม


ข้อดีของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Topology)

-        ใช้สายส่งข้อมูลน้อยเมื่อเทียบกับระบบดาว

-        เนื่องจากใช้สายส่งข้อมูลน้อย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย

ข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Topology)

-        หากเกิดความเสียหายจุดใดจะทำให้ระบบไม่สามารถติดต่อกันได้จนกว่าจะนำจุดที่เสียหายออกจากระบบ

-        ยากต่อการตรวจสอบหาข้อผิดพลาด เพราะอาจต้องหาทีละจุด

-        การจัดโครงสร้างใหม่ค่อนข้างยุ่งยาก เมื่อต้องการเพิ่มจุดสถานีใหม่ ถ้าจะทำต้องตัดสายใหม่ ก็จะไม่สามารถใช้งานเครือข่ายได้

 

1.            โครงสร้างแบบไร้สาย (Wireless Topology)

ที่กล่าวมาทั้งหมดเกี่ยวกับโครงข่ายข้างต้นนั้น เป็นโครงสร้างที่ใช้กันสำหรับเครือข่ายแบบใช้สายแต่เนื่องจากปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีเครือข่ายแบบใหม่เกิดขึ้นมา ที่เรียกว่าเครือข่ายไร้สาย (Wireless) จะใช้คลื่นวิทยุในการรับ ส่งข้อมูล จึงทำให้แตกต่างกันออกไปและโครงสร้างแบบนี้ได้แบ่งเป็น แบบ คือ Peer-to-Peer และ Client Server นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือหรือ Cellular Network ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบโครงสร้างแบบไร้สายด้วย ลักษณะจะคล้าย ๆ เป็นรูปรังผึ้ง

รูปที่ 4.7 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สาย


3. ลักษณะการให้บริการของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

            เราสามารถแบ่งลักษณะการให้บริการของเครือข่ายได้เป็น แบบ คือ

1.            แบบแม่ข่าย – ลูกข่าย (Client-Server)

รูปที่ 4.8 แบบแม่ข่าย – ลูกข่าย (Client – Server)


เครือข่ายประเภทนี้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์หลักอย่างน้อย  1 เครื่องทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย (Server) ไว้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ที่เป็นลูกข่าย (Client) ซึ่งเข้ามาขอใช้บริการและทรัพยากรจากแม่ข่าย

ข้อดีของเครือข่ายประเภทนี้ คือ สามารถจัดเก็บข้อมูลไว้เป็นจุดเดียวและมีระบบความปลอดภัยสูง ทั้งยังสามารถขยายระบบได้ในอนาคต แต่มีข้อจำกัด คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่ายจะต้องทำงายหนัก จึงต้องใช้เครื่องที่มีสมรรถนะสูง และมีเสถียรภาพ เพื่อรองรับการใช้บริการจากลูกข่ายได้อย่างเพียงพอ เพราะหากเครื่องแม่ข่ายมีปัญหาระบบเครือข่ายทั้งระบบจะใช้งานไม่ได้ นอกจากนี้ยังต้องใช้ระบบปฏิบัติการซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการบริหารเครือข่ายโดยเฉพาะ เช่น Windows NT Server,  Windows 2000 Server หรือ Windows 2003 Server มาติดตั้งในเครื่องแม่ข่ายทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องมีผู้ที่มีความสามารถในด้านการควบคุมเครือข่าย (Administrator) มาดูแลระบบเครือข่าย

2.        แบบเท่าเทียม (Peer to Peer)เครือข่ายประเภทนี้จะไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นหลักในการให้บริการ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครื่องข่าย จะเป็นทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ

รูปที่ 4.9 แบบเท่าเทียม (Peer to Peer)


ข้อดีของเครือข่ายประเภทนี้คือ ติดตั้งง่ายไม่ต้องมีผู้ดูแลโดยเฉพาะ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง ๆ มาเป็นแม่ข่าย นอกจากนี้ยังสามารถใช้ระบบปฏิบัติการแบบปกติที่ติดตั้งภายในเครื่อง เช่น Windows 98,  Windows ME หรือ Windows XP ซึ่งรองรับการใช้งานเครือข่ายในลักษณะนี้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่มีราคาแพง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายของระบบได้มาก แต่มีข้อเสียคือ ขยายระบบได้จำกัด โดยทั่วไปการเชื่อมเครือข่ายจะใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง มิฉะนั้น จะมีปัญหาด้านความเร็วในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีระบบความปลอดภัยต่ำกว่า รวมทั้งทรัพยากรของระบบจะอยู่กระจัดกระจายตามเครื่องต่าง ๆ ยากต่อการใช้งานและควบคุมดูแล

   4. ไอพีแอดเดรส (IP Address) และซับเน็ตมาสก์ (Subnet Mask)

            4.1 หมายเลข IP Address

หมายเลขไอพี (IP Address) คือ เลขที่ใช้ในการบอกที่อยู่เฉพาะของโหนดหรือโฮส รวมถึงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่าย เช่น เร้าเตอร์ (Router) ที่อยู่ในระบบเครือข่าย หมายเลข IP Address จะเป็นที่อยู่ใน Network Layer หมายเลข IP Address ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันจะต้องไม่ซ้ำกัน ปัจจุบันโปรโตคอล IP ที่ใช้งานอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะเป็นเวอร์ชั่น หรือเรียกสั้น ๆ ว่า IPv4 ซึ่งหมายเลข IP Address เวอร์ชัน จะมีขนาด 32 บิต นิยมเขียนให้อยู่ในรูปแบบ Dotted Decimal Notation โดยการจัดกลุ่มเลขฐานสองเป็น ชุด ๆ ละ บิต แบ่งออกเป็น ส่วน คือ ส่วนที่บอกหมายเลขเครือข่าย (Network ID) และส่วนที่จะเป็นเลขที่ใช้ในการบอกหมายเลขของเครื่องหมายเลขของโฮส (Host ID)

            ประเภทของหมายเลข IP Address

·          Class A : กำหนดให้บิตแรกเป็นเลข ใช้ บิตแรก บอกหมายเลขเครือข่าย (Network ID) และ 24 บิตที่เหลือใช้บอกหมายเลขโฮส (Host ID)

·          Class B : กำหนดให้สองบิตแรกเป็น กับ ใช้ 16 บิตแรก บอกหมายเลขเครือข่าย (Network ID) และอีก 16 บิตที่เหลือใช้บอกหมายเลขโฮส (Host ID)

·          Class C : กำหนดให้บิตเริ่มต้นเป็น 110 ใช้ 24 บิตแรก บอกหมายเลขเครือข่าย (Network ID) และ บิตที่เหลือใช้บอกหมายเลขโฮส (Host ID)

·          Class D : เป็นหมายเลข IP Address ที่ใช้สำหรับมัลติคาสต์ (Multicasting)

·          Class E : เป็นหมายเลขที่สงวนไว้รองรับการใช้งานในอนาคต

4.2 หมายเลข Subnet Mask

หมายเลข Subnet Mask รูปแบบจะประกอบด้วยตัวเลข ชุด เหมือนกับหมายเลข IP Address ในการกำหนดหมายเลข IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ระบบเครือข่าย เราจำเป็นต้องกำหนดหมายเลข Subnet Mask ให้กับอุปกรณ์ด้วย ในการกำหนดหมายเลข Subnet Mask ควบคู่กับหมายเลข IP Address จะต้องใช้หมายเลข Subnet Mask ที่เป็นค่ามาตรฐานของหมายเลข IP Address แต่ละคลาส นอกจากนั้นเรายังมีวิธีการแบ่ง Subnet ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้การใช้หมายเลข IP Address ได้อย่างคุ้มค่า เช่น หมายเลข IP Address คลาส จะมีโฮสได้หลายหมื่นเครื่อง ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ใหญ่เกินไปสำหรับองค์กรทั่วไป การทำ Subnet เป็นการแบ่งเครือข่ายขนาดใหญ่ออกเป็นเครือข่ายย่อย

โดยการแบ่งเลขไอพีส่วนที่เป็นหมายเลขโฮส (Host ID) มาเป็นหมายเลขของเครือข่าย (Network ID) หมายเลข Subnet Mask นอกจากจะเป็นการแบ่งเครือข่ายขนาดใหญ่ออกเป็นเครือข่ายย่อยแล้ว ยังเป็นส่วนที่ใช้บอกให้ Router หรือ Gateway รู้ว่ามีการแบ่ง Subnet และรู้ถึงจำนวน


 

 

 

 

 

hit counter